Pre-Order

ประตูไม้แดงเอ็นจิเนียร์ บานเรียบแนวนอน (ไม่รวมทำสี)

คุณสมบัติสินค้า:

ประตูไม้แดงเอ็นจิเนียร์ เหมาะสำหรับใช้งานบานประตูห้องนอน บานประตูภายในและกึ่งภายนอก ความหนากรอบบาน 35 มิล (ราคาไม่รวมทำสี)

ขนาด

Share

ประเภทสินค้า : ประตูไม้แดงเอ็นจิเนียร์
ลักษณะการใช้งาน : ประตูไม้แดงเอ็นจิเนียร์ เหมาะสำหรับประตูบานห้องนอน บานประตูภายในและกึ่งภายนอก

คุณสมบัติเด่นของบานประตูแดงเอ็นจิเนียร์

  1. บานประตูผลิตด้วยวิธีบานประกอบเอ็นจิเนียร์ โครงสร้างภายในประกอบด้วยไม้จริง มาตรฐานบานประตูประกอบมอก.152-2549 ขึ้นรูปหน้าบานชั้นที่1ด้วยไม้อัดกันชื้น ปิดผิวหน้าด้วยไม้จริงแดงความหนา 3-5 มิล บานประกอบเอ็นจิเนียร์ป้องกันการโก่งตัวมากกว่าบานประตูไม้จริงทั้งชิ้น
  2. หน้าบานประตูเป็นไม้จริงแดง100% ลายไม้แดงธรรมชาติ สวยงาม
  3. หน้าบานและกรอบบานใช้ไม้จริงแดง ผ่านการอบมากกว่า15วัน ทำให้บานประตูไม่แตกและโก่งตัว
  4. หน้าบานและกรอบบานประกอบแบบเข้าเดือย ใช้กาวทนความชื้น (POLY VINYL ACETATE EMULSION POLYMER) หลังทาด้วยสีน้ำมันหรือสีย้อมไม้ บานประตูทนความชื้นไม่โก่งตัว ใช้งานกึ่งภายนอกได้
  5. ประตูบานประกอบเอ็นจิเนียร์ลดการใช้ไม้จริง ช่วยลดการใช้ไม้จริงจากธรรมชาติ
  6. ราคาบานประตูไม้แดงเอ็นจิเนียร์มีราคาถูกกว่าใช้บานประตูไม้จริงแดงทั้งบาน
  7. กรอบบานประตูจริงไม้แดงความหนา 35 มิล แต่งไสขอบบานประตูได้ง่าย
  8. เสริมโครงพิเศษเพิ่มความแข็งแรงให้สามารถใส่ลูกบิดประตูทั้ง 2 ด้าน
  9. หน้าบานลูกฟักมีความหนา 1 นิ้ว
** หมายเหตุ
  • สามารถสั่งผลิตความสูงประตูได้สูงสุด 3.00 เมตร ความกว้างได้ 1.50 เมตร
  • ระยะเวลาสั่งผลิตสินค้า ประมาน 20-25 วัน ขนาดพิเศษ 30-45 วันขึ้นไป
  • ราคาดังกล่าวเป็นราคา เฉพาะบานอย่างเดียว ไม่รวมทำสี,วงกบ,กระจก,งานติดตั้งหรืออุปกรณ์เสริมใด ๆ

คุณสมบัติและกระบวนการผลิตประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์

  • ประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์เป็นประตูรูปแบบใหม่ ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ผลิตมาเพื่อแก้ปัญหาบานประตูโก่งและบิดตัวหลังการใช้งาน มีความแข็งแรง ราคาถูกกว่าประตูไม้จริง 
  • โครงสร้างบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์ กรอบบานและโครงสร้างบานประตูเป็นไม้จริงเหมือนบานประตูไม้จริง ข้อแตกต่างคือโครงการบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์เป็นไม้จริงประสาน (Joint) ซึ่งการประสานของชิ้นไม้จริงช่วยป้องกันบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์โก่งตัว
  • ชั้นที่สองของโครงสร้างบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์ ปิดทับด้วยไม้อัดยางกันน้ำความหนา 4 มิลทั้งสองด้าน การปิดของไม้อัดช่วยป้องกันหน้าบานประตูยืด หด ขยายตัว
  • ผิวหน้าบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์เป็นผิวหน้าไม้จริงตามชนิดที่เลือก การปิดผิวหน้าประตูไม้จริงเป็นขั้นตอนสุดท้าย เป็นการปิดทับด้วยผิวหน้าไม้จริงทั้งชิ้น ความหนา 3 มิลบนแผ่นไม้อัดยางกันน้ำ 
  • บานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์เป็นบานประตูที่ตอบโจทย์เรื่องความสวยงามด้วยลายไม้ธรรมชาติ ราคาถูกและไม่โก่งตัว

    ข้อดีของบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์
  • การผลิตบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์ช่วยลดปัญหาการโก่งตัวของบานประตูของไม้จริงทั้งชิ้น ด้วยเทคโนโลยีโครงสร้างบานประกอบปิดผิวหน้าด้วยปิดไม้จริงธรรมชาติ ทำให้ไม่มีการโก่งและบิดตัวหลังการใช้งาน
  • ผิวหน้าประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์เป็นไม้จริงความหนา 3-5 มิล ปิดทับบานประตูให้มีความสวยงามด้วยลายไม้ธรรมชาติ สามารถเลือกชนิดไม้ทุกชนิด เช่น ไม้ไวท์โอ๊ค ไม้สัก หรือไม้แดง เป็นต้น
  • บานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์ ผลิตได้ทั้งแบบบานเรียบเซาะร่องและแบบลูกฟัก สามารถเจาะช่องกระจกและเสริมเกล็ดได้ตามกำหนด
  • บานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์สามารถผลิตตามความสูงสั่งผลิตได้โดยไม่โก่งตัว โดยความสูงของบานประตูทำได้สูงสุดถึง 3.00 เมตร เหมาะสำหรับบานประตูหน้าบ้าน 
  • การติดตั้งประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์ทำได้ง่ายเนื่องจากโครงสร้างบานมีความแข็งแรง และวิธีการทำสีหน้าบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์ ใช้วิธีการเดียวกับบานประตูไม้จริง ติดตั้งง่าย สามารถไสบานได้เหมือนประตูไม้จริง

    คุณสมบัติและกระบวนการผลิตประตูไม้จริง
  • ประตูไม้จริงผลิตจากไม้จริงทั้งชิ้นนำมาประกอบขึ้นรูปเป็นบานประตูไม้จริง โดยทั่วไปบานประตูไม้จริงมีความ 35 มิลลิเมตร สามารถทำความหนาสูงสุดของประตูไม้จริงที่ 45 มิลลิเมตรขึ้นกับขนาดของชิ้นไม้ที่นำมาทำประตูไม้จริง
  • ประตูไม้จริงประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนของกรอบบานประตูไม้จริงกับส่วนลูกฟักในกรอบบาน กรอบบานประตูประกอบจากไม้จริงขนาด 95-120 มิลลิเมตร ความหนาของกรอบบานที่ 35-45 มิลลิเมตรขึ้นกับชิ้นไม้ โดยทั่วไปจะมีความหนากรอบบานที่ 35 มิลลิเมตร
  • ส่วนโครงสร้างภายในของบานประตูไม้จริง เป็นส่วนลูกฟักของประตูไม้จริง ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ ลูกฟัก 2 ช่องตรง ลูกฟัก 4 ช่องตรง ลูกฟักโค้ง ขึ้นกับการออกแบบประตุไม้จริง ทั้งนี้ความหนาของลูกฟักประตูมี 2 ความหนาคือความหนาเท่ากรอบบานประตู หรือความหนาน้อยกว่ากรอบบานประตู โดยความหนาของลูกฟักมีผลต่อความแข็งแรงของประตูไม้จริง น้ำหนักของประตูไม้จริง และราคาประตูไม้จริง

 

  • เปรียบเทียบคุณสมบติและราคา ประตูไม้จริงกับประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์




การทำสีประตูไม้จริงและบานประตูไม้จริงเอ็นจิเนียร์

  • กระบวนการทำสีบานประตูไม้จริงทั้งสองแบบทำสีได้ด้วยวิธีเดียวกันเพราะผิวหน้าและโครงสร้างบานเป็นบานไม้จริง

    การทำสีบานประตูไม้โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ การทำสีประตูไม้จริงด้วยสีน้ำมันและการทำสีประตูไม้จริงด้วยสีย้อมไม้การทำสีประตูไม้จริงด้วยสีน้ำมัน สีบานประตูที่นิยมใช้คือสีขาว สีน้ำตาลเข้ม สีเทาและสีดำ โดยเป็นการทำสีบานประตูไม้จริงแบบทึบแสง ไม่โชว์ลายไม้ของบานประตู ประตูไม้จริงที่ใช้ทาสีน้ำมันคือ บานประตูไม้จริงเนื้อแข็ง บานประตูไม้จริงไม้เบญจพรรณ บานประตูไม้จริงไม้สยา เป็นกลุ่มประตูไม้จริงที่มีราคาไม่แพงมาก ลายไม้ของบานประตูไม้กลุ่มนี้จะไม่มีลายไม้ที่เด่นชัด จึงไม่นิยมใช้การทำสีแบบสีย้อมไม้ ซึ่งโชว์ลายไม้ของบานประตู

    ข้อดีการทำสีประตูไม้จริงด้วยสีน้ำมัน คือการทำสีประตูไม้จริงทำได้ง่ายกว่าการทำสีประตูไม้จริงด้วยสีย้อมไม้

    การทำสีประตูไม้จริงด้วยย้อมไม้ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ลักษณะเฉพาะของสีย้อมไม้คือ เป็นสีที่มีลักษณะกึ่งใสโปร่งแสง ทำให้มองเห็นลายไม้ของบานประตูไม้จริง สีย้อมไม้ที่นิยมใช้ คือสีย้อมไม้บานประตูไม้จริงสีไม้สัก สีย้อมไม้บานประตูไม้จริงสีแดง สีย้อมไม้บานประตูไม้จริงสีมะฮอกกานี สีย้อมไม้บานประตูไม้จริงสีกึ่งใสธรรมชาติ บานประตูไม้จริงที่นิยมใช้กับการทำสีบานประตูไม้จริงด้วยสีย้อมไม้ คือ บานประตูไม้จริงไม้จำปา บานประตูไม้จริงไม้แดง บานประตูไม้จริงไม้สัก บานประตูไม้จริงกลุ่มนี้จะมีราคาสูงขึ้นกับชนิดไม้ ส่วนหนึ่งมาจากเป็นไม้ที่หายาก ไม่สามารถปลูกได้ในประเทศ ใช้การนำเข้าจากต่างประเทศ

    ข้อดีของการทำสีประตูไม้จริงด้วยสีย้อมไม้ การทำสีประตูไม้จริงด้วยสีย้อมไม้ บานประตูไม้จริงจะมีความสวยงามมากกว่า สีที่ได้จะเป็นสีย้อมไม้ตามที่เลือก และมีลายไม้ตามลักษณะของเนื้อไม้บานประตู

    อุปกรณ์สำหรับการทำสีบานประตูไม้จริง
    1. ถุงมือผ้าหรือถุงมือยาง 2. แว่นตาใส 3. หน้ากากกรองฝุ่น 4. เกรียงโป๊ว 5. แปรงปัดผง 6. แปรงทองเหลือง 7. แผ่นไม้ผสมดินโป๊ว 8. ภาชนะผสมสี 9.เทปกระดาษ 10. กระดาษทรายขัดไม้ 11. กระดาษทรายขัดสีหรือกระดาษทรายน้ำ 12. ฝอยเหล็กขัดเสี้ยนไม้ 13. แปรงทาสี 14. พู่กันกลมเก็บสี 15. กาพ่นสี 16. เครื่องปั๊มสำหรับกาพ่นสี 17. วัสดุอุดโป๊วแบบแห้งเร็วหรือดินสอพอง 18. น้ำยาฟอกสี 19. ฟิลเลอร์รองพื้นไม้ก่อนเคลือบ 20. สีย้อมไม้ สีพ่นอุตาหกรรมหรือสีน้ำมัน 21. น้ำยาเคลือบ ได้แก่ แล็กเกอร์ ยูริเทน เชลแล็ก หรือชุดน้ำยาเคลือบกึ่งเงากึ่งด้านสำเร็จรูป

    วิธีการทำสีประตูไม้จริง
    แบ่งเป็น การเตรียมพื้นผิวประตูไม้จริง การย้อมสีประตูไม้จริง และ การเคลือบผิวประตูไม้จริง
    1. การเตรียมพื้นผิวประตูไม้จริง ขัดประตูไม้จริงด้วยกระดาษทรายหยาบ และกระดาษทรายละเอียด เพื่อกำจัดผิวที่เป็นเสี้ยนไม้ของประตูไม้จริง ให้ผิวหน้าประตูไม้จริงหลังย้อมเรียบสม่ำเสมอ

    2. ทำการอุดรอยแตก ร่องของประตูไม้ด้วยดินสอฟอง วัสดุโป๊แบบแห้งเร็ว จากนั้นขัดด้วยประดาษทรายเลอร์ละเอียด อีกครั้ง ตรวจสอบความเรียบร้อยของประตูไม้ว่าลักษณะเรียบ ไม่มีเสี้ยนไม้และร่องรอยแตก ทำการทาประตูไม้ด้วยเชลแล็กเพื่อให้ผิวของบานประตูไม้ขึ้นเสี้ยน ในขั้นตอนนี้เสี้ยนของประตูไม้ดันขึ้นออกมาหลังการทาเชลแล็กในแต่ละรอบ ให้ทำการขัดเสี้ยนประตูไม้ด้วยกระดาษทรายละเอียด ทำกระบวนการนี้จนกว่าเสี้ยนไม้ไม่ดันขึ้นออกมาอีก เพื่อเตรียมขั้นตอนการลงสีย้อมไม้ประตูไม้ต่อไป เพื่อเตรียมขั้นตอนการฟอกสีบานประตูไม้ต่อไป
    3. การฟอกสีประตูไม้ด้วยน้ำยาฟอกสี เพื่อเป็นการรักษาสีธรรมชาติของเนื้อไม้ เพราะเนื้อไม้บางชนิดเปลี่ยนสีไปทำให้เนื้อไม้ด้อยคุณภาพ การฟอกสีเป็นการเพิ่มมูลค่าของประตูไม้ให้ประตูไม้โชว์ลายไม้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    4.การลงสีย้อมไม้หรือสีน้ำมันที่เลือกไว้ การลงสีย้อมไม้บานประตูไม้ ทำได้ด้วยวิธีการทาและการพ่น หรือการทาแล้วย้อมเช็ด แต่ละวิธีมีข้อดีที่แตกต่างกันข้อดีของการทาสีย้อมไม้บานประตูไม้ คือมีความสะดวก ทำได้ง่าย ข้อด้อยคือ ต้องใช้ความละเอียดในการทา และใช้ช่างที่มีฝีมือเพราะอาจเห็นรอยแรงของประตูไม้หลังการทา อีกวิธีที่นิยมใช้คือการทีสีประตูไม้และทำการเช็ดภายหลัง เรียกกว่าการทำสีแบบย้อมเช็ด

    ข้อดีของการทำสีแบบย้อมเช็ดประตูไม้ สีที่ได้จะมีความใสกว่าเห็นลายไม้ได้ชัดเจน ข้อด้อยคือคุณภาพของชิ้นไม้ที่ทำบานประตูไม้ต้องมีความสวยงามไม่มีรูมอดหรือรอยตาไม้ เพราะจะทำให้เห็นได้ชัด

    ข้อดีของการลงสีประตูไม้ด้วยการพ่นสีลงบนประตูไม้ คือ สีของบานประตูไม้จะมีความเรียบสม่ำเสมอ สวยงามมากว่าการใช้วิธีการทาสีประตูไม้ ข้อด้อย คือต้องเตรียมอุปกรณ์ในการพ่น ได้แก่ เครื่องปั๊มลม กาพ่นสี ซึ่งถ้าไม่ได้ทำงานประตูไม้บ่อยๆ จะมีความยุ่งยากมากกว่าการทา การลงสีประตูไม้สามารถลงได้หลายรอบ ซึ่งสีประตูไม้ที่ได้จะเข้มขึ้นตามจำนวนรอบของการลงสีประตูไม้ สีที่นิยมใช้ทำสีบานประตูไม้โดยทั่วไปได้แก่ สีธรรมชาติ สีน้ำตาลไม้สัก สีไม้แดง สีไม้แดงมะฮอกกานี สีน้ำตาลเข้มวอลนัท สีเหลืองไม้จำปา เป็นต้น

    ปัจจุบันมีสีย้อมไม้ประตูไม้ชนิดย้อมสำเร็จพร้อมเคลือบสีกึ่งเงากึ่งด้าน ซึ่งจะมีความสะดวกมากกว่า แต่ข้อด้วยคือไม่สามารถปรับแต่งสีประตูไม้ได้ตามกำหนด

    5. การเคลือบแข็งผิวหน้าบานประตูไม้หลังการย้อมสี เพื่อให้บานประตูไม้ทนต่อรอยขีดข่วนและมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน การเคลือบแข็งบานประตูไม้ทำในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจะมีชุดเคลือบแข็งสำเร็จแบบกึ่งเงากึ่งด้าน หรือเงา 100% ตามที่เรากำหนดว่าต้องการประตูไม้แบบเงา 100% หรือประตูไม้แบบเงา 20% ด้าน80% ขึ้นกับความชอบและการการออกแบบ
    6. ตรวจสอบสภาพของประตูไม้หลังการเคลือบ กรณีมีฟองอากาศหรือมีตำหนิให้ขัดประตูไม้ด้วยกระดาษยูริเทนหรือกระดาษทรายเบอร์ศูนย์และทำการเคลือบซี้กครั้ง จนกว่าจะได้คุณภาพการทำสีประตูไม้ที่ต้องการ

    การติดตั้งประตูไม้จริง
  • การตรวจสอบประตูไม้จริงก่อนการติดตั้ง การตรวจสอบชนิดการใช้งานและขนาดประตูไม้จริงให้ถูกต้อง เป็นไปตามระยะที่กำหนด และควรตรวจสอบบานประตูไม้จริงก่อนการติดตั้งว่ามีสภาพผิดปกติหรือไม่เช่น แตก บิด โก่ง หรือมีคราบน้ำและอื่นๆ หากพบความผิดปรกติไม่ควรติดตั้งประตูไม้จริงโดยเด็ดขาด ต้องมีการปรับแต่งไสและแก้ไข เพราะการแก้ไขหลังการติดตั้งทำได้ยาก

  • การตรวจสอบวงกบประตูไม้จริง ประตูไม้จริงสามารถติดตั้งกับวงกบได้ทุกชนิด ทั้งวงกบไม้จริงลัวงกบไม้สังเคราะห์ ควรตรวจสอบระยะวงกบก่อนการติดตั้งบานประตู วงกบได้ระยะดิ่ง ระยะฉากและตรวจสอบระยะภายในวงกบ ว่ามีระยะตามกำหนดที่สามารถติดตั้งกับบานประตูไม้จริงได้ จากนั้นทำการตรวจสอบความแข็งแรงของวงกบไม้จริงว่ามีความแข็งแรงเพียงพอ เพราะบานประตูไม้จริงมีน้ำหนักมากกว่าประตูชนิดอื่น ความแข็งแรงของวงกบไม้จริง การยึดติดระหว่างวงกบไม้จริงกับผนังปูนมีความสำคัญมาก

  • การปรับไสประตูไม้จริงและวงกบ บานประตูไม้จริงเป็นบานไม้จริงทั้งบานการปรับแต่งไสสามารถปรับแต่งไสได้มากกว่าประตูชนิดอื่น หากจำเป็นต้องปรับไสบานประตูไม้จริง ต้องการปรับไสแต่ละด้านไม่เกิน 5 มม.และรวมทั้ง 2 ด้าน ไม่เกิน 10 มม. (การปรับไสแต่ละด้านต้องการเท่ากันไม่ควรไสด้านใดด้านหนึ่ง) การปรับไสเกินมาตรฐานที่ผู้ผลิตระบุ จะส่งผลต่อความแข็งแรงของบานประตูไม้จริง

  • การติดตั้งบานพับประตูไม้จริง บานประตูควรติดตั้งบานพับขั้นต่ำ 4 บานต่อประตู1บาน เพื่อให้บานพับไม่รับน้ำหนักมาเกินไป การติดบานพับประตูไม้จริง 2 ชิ้นบนจะอยู่ด้านบนของประตูไม้จริงเพราะเป็นส่วนรับน้ำหนักประตู 1 บานพับตรงกลาง และ 1 บานพับด้านล่าง สำหรับขั้นตอนการติดบานพับเข้าที่สันบานประตูไม้จริง ควรวัดและทำสัญลักษณ์ก่อนการขันสกรูบานพับ จากนั้นทำการเซาะร่องบานพับ (การเลือกบานพับที่เหมาะสมต้องพิจารณาถึงความหนาของบ้านพับเป็นสำคัญ)ข้อควรระวัง : จำนวนบานพับที่ใช้สำหรับบานประตู 1 บาน ควรพิจารณาถึงขนาด และน้ำหนักของประตูเพื่อให้ บานพับรับน้ำหนักประตูได้เนื่องจากบานพับจะส่งผลต่ออายุการใช้งานของบานประตูไม้จริง (บานพับประตูที่นิยมใช้สำหรับประตูไม้จริงคือขนาด 3”x4”x2มม.)

  • การติดตั้งอุปกรณ์ประตูไม้จริง ด้วยการที่เป็นประตูไม้จริงทั้งชิ้น จึงไม่มีข้อจัดเหมือนประตูบานไม้ประกอบ สามาถติดตั้งลูกบิดได้ที่กรอบบาน การติดตั้งลูกบิด ให้ติดตามแนวกึ่งกลางของประตูไม้จริง

    ข้อแนะนำระหว่างการติดตั้งประตูไม้จริง
  • การติดตั้งประตูลูกฟักไม้จริง ไม่ควรติดตั้งประตูไม้จริงทันทีในอากาศที่มีการทำสี หรือฉาบปูนเสร็จใหม่ๆ เนื่องจากความชื้นของพื้นที่ติดตั้งจะส่งผลต่อบานประตูไม้จริง ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งประตูไม้จริง ในบริเวณที่สัมผัสโดยตรงกับน้ำและความร้อนจากแสงแดดโดยตรงหรือบริเวณที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากๆ เช่น บริเวณช่องแอร์ เนื่องจากจะมีผลต่อสีของบานประตูไม้จริง ทำให้สีของบานประตูไม้จริงมีอายุการใช้งานน้อยกว่าความเป็นจริง ที่ใช้งานในสภาพการใช้งานปกติ

  • ประตูไม้จริงเป็นบานประตูประเภทภายใน สามารถใช้งานกึ่งภายนอกได้ กรณีงานกึ่งภายนอกควรมีหลังคาคลุมบานประตูไม้จริง เพื่อป้องกันแสงแดดและความชื้น ทำให้สีของบานประตูไม้จริง คงทน ใช้งานได้ระยะเวลานาน

    การเลือกประตูมีความสำคัญ ช่วยให้ประตูมีอายุการใช้งานที่นาน และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมหลังจากการใช้งาน

    ตอบโจทย์ด้านการใช้งานและการออกแบบประตู

    Inspire By DOORTHAI
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้